คณิตศาสตร์เสริม
( เลขเสริม )
บทที่ 1. จำนวนเชิงซ้อน
1. การสร้างจำนวนเชิงซ้อน
2. สมบัติเชิงพีชคณิตของจำนวนเชิงซ้อน
3. รากที่สองของจำนวนเชิงซ้อน
4. กราฟและค่าสัมบรูณ์ของจำนวนเชิงซ้อน
5.
จำนวนเชิงซ้อนในรูปเชิงขั้ว
6.
รากที่ n ของจำนวนเชิงซ้อน
7. สมการพหุนาม
. _ . _ . _ . _ . _ . _ . _ . _ . _ . _ . _ . _
. _ . _ . _ . _
ความน่าจะเป็น ม.5 (เทอม
2)
1. กฎการนับเบื้องต้น
2. ความน่าจะเป็น
2.1 การทดลองสุ่ม
2.2 เหตุการณ์
2.4 ความน่าจะเป็น
. _ . _ . _ . _ . _ . _ . _ . _ . _ . _ . _ . _
. _ . _ . _ . _
https://www.youtube.com/watch?v=e1eX27KK7-s
สรุป
https://sites.google.com/site/complexnumberinth/hna-4
สรุป
https://sites.google.com/site/complexnumberinth/hna-4
การบวก ลบ คูณ หาร จำนวนเชิงซ้อน
อินเวอร์การคูณของจำนวนเชิงซ้อน
สังยุคของจำนวนเชิงซ้อน
กราฟและค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเชิงซ้อน
จำนวนเชิงซ้อนในรูปเชิงขั้ว
.
แบบฝึกทักษะ https://sites.google.com/site/complexnumberinth/cothy-serim-thaksa
.
ความน่าจะเป็น
ความน่าจะเป็น คือการวัดหรือการประมาณความเป็นไปได้ว่า
บางสิ่งบางอย่างจะเกิดขึ้น จะเป็นจริงมากเท่าใด ความน่าจะเป็นมีค่าตั้งแต่ 0
(โอกาส 0% หรือ จะไม่เกิดขึ้น) ไปจนถึง 1 (โอกาส 100% หรือ จะเกิดขึ้น) ระดับของความน่าจะเป็นที่สูงขึ้น
คือความเป็นไปได้มากขึ้นที่เหตุการณ์นั้นจะเกิด
หรือถ้ามองจากเงื่อนเวลาของการสุ่มตัวอย่าง
คือจำนวนครั้งมากขึ้นที่เหตุการณ์เช่นนั้นคาดหวังว่าจะเกิด
.
.
.
.
.
บทที่ 1 จำนวนเชิงซ้อน
ในระบบจำนวนจริง สมการพหุนามบางสมการ เช่น x2 + 1 = 0 ไม่มีคำตอบ เนื่องจากกำลังสองของจำนวนจริงใดๆ จะมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับศูนย์เสมอ และเรียกจำนวนในระบบที่สร้างขึ้นใหม่ว่าจำนวนเชิงซ้อน (complex numbers) ซึ่งนอกจากจะแก้ปัญหาในเรื่องการมีคำตอบของสมการพหุนามใดๆ แล้ว ยังสามารถนำไปประยุกต์อย่างกว้างขวางกับสาขาต่างๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ เช่น วงอิเล็กทรอนิกส์ กลศาสตร์ กลศาสตร์ของไหล ทฤษฎีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น
1.1 การสร้างจำนวนเชิงซ้อน (Construction of Complex Numbers )
จากการที่กล่าวข้างต้นว่า สมการพหุนาม X2 + 1 = 0 ไม่มีคำตอบเป็นจำนวนจริง แต่นักคณิตศาสตร์ต้องการสร้างระบบจำนวนซึ่งขยายออกไปเพื่อให้สามารถครอบคลุมทุกคำตอบของสมการพหุนามทั้งหมดได้ ดังนั้นจึงจะพิจารณาเซตที่มีจำนวนจริงเป็นสับเซต
บทนิยาม จำนวนเชิงซ้อน คือ คู่อันดับ (a , b) เมื่อ a และ b เป็นจำนวนจริงและกำหนดการเท่ากัน การบวกและการคูณของจำนวนเชิงซ้อน ดังนี้
สำหรับจำนวนเชิงซ้อน (a, b) และ (c, d)
1. การเท่ากัน
(a , b) = (c, d) ก็ต่อเมื่อ a = c และ b = d
2. การบวก
(a, b) + (c, d) = (a + c , b + d)
3. การคูณ
เราอาจแทน ด้วย (a, b)(c, d) ก็ได้
เซตของจำนวนเชิงซ้อนแทนด้วยสัญลักษณ์ C
วิธีทำ ( - 1, 2)+(3 - 4) = ( - 1 + 3, 2 - 4)
= (2, - 2)
( - 1 , 2)(3, 4) = (( - 1)3 - 2( - 4), ( - 1)( - 4)+2.3)
= ( - 3 + 8 , 4+6)
= (5 , 10)
พิจารณาจำนวนเชิงซ้อนที่อยู่ในรูป (x , 0) จะเห็นว่า
(a , 0) + (b , 0) = (a + b , 0)
(a, 0 )(b , 0) = = (ab, 0)
ซึ่งจะเหมือนกับการบวก และการคูณจำนวนจริง ฉะนั้นเราสามารถมองจำนวนเชิงซ้อนในรูป (a , 0) ว่าเป็นจำนวนจริง a ตามข้อสังเกตนี้จะได้ว่า เซตของจำนวนจริงเป็นสับเซตของเซตของจำนวนเชิงซ้อน เมื่อเราแทนจำนวนเชิงซ้อน (a , b) ด้วยจุด (a , b) ในระนาบ XY จะได้ว่าจำนวนจริง a แทนได้ด้วยจุด (a , 0) บนแกน X นั่นเอง
บทนิยาม
สำหรับจำนวนเชิงซ้อน z = (a , b) เมื่อ a และ b เป็นจำนวนจริง
เรียก a ว่าส่วนจริง (real part) ของ z และแทนด้วย Re(z)
เรียก b ว่าส่วนจินตภาพ (imaginary part) ของ z และแทนด้วย Im(x)
จากบทนิยามนี้ อาจกล่าวได้ว่า จำนวนจริงก็คือ จำนวนเชิงซ้อนที่มีส่วนจินตภาพเป็นศูนย์ จำนวนเชิงซ้อนที่มีส่วนจริงเป็นศูนย์ แต่ส่วนจินตภาพไม่ใช่ศูนย์ เรียกว่า จำนวนจินตภาพแท้ (purely imaginary number)
ต่อไปพิจารณาจำนวนเชิงซ้อน (0, 1)
(0, 1) (0, 1) = (0 - 1, 0+0) = ( - 1, 0)
ซึ่งจำนวนเชิงซ้อน ( - 1 , 0) คือจำนวนจริง - 1 นั่นเอง เขียนแทนจำนวนเชิงซ้อน (0, 1) ด้วยสัญลักษณ์ i จะได้ว่า
I2 = -1
สำหรับจำนวนเชิงซ้อน (a , b) ใดๆ
(a , b) = (a , 0) + (0, b)
= (a, 0) +(b, 0) (0, 1)
= a + bi
ฉะนั้น จำนวนเชิงซ้อน (a, b) สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ a+ bi
กำหนดสัญลักษณ์ของจำนวนเชิงซ้อนในรูป a + bi เมื่อ a และ b เป็นจำนวนจริง ทำให้การคำนวณเกี่ยวกับจำนวนเชิงซ้อนสามารถทำได้โดยง่ายโดยใช้สมบัติต่างๆ เกี่ยวกับการบวกและการคูณ เช่นเดียวกับสมบัติของการบวกและคูณของจำนวนจริง และมีข้อมูลตกลงว่า I2 = -1 เช่น
(a + bi) + (c + di) = (a+c)+(bi+di)
= (a+c) + (b+d)i
(a + bi)(c +di) = a(c+di)+bi(c+di)
= ac + adi + bci + bdi2
= (ac - bd) + (ad+bc)i
a + bi = c+ di ก็ต่อเมื่อ a = c และ b = b
ต่อไป เมื่อกล่าวว่า z = a + bi เป็นจำนวนเชิงซ้อน จะถือว่า a และ b เป็นจำนวนจริงโดยไม่ต้องกล่าวซ้ำอีก
ตัวอย่างที่ 2 จงหาผลบวกและผลคูณของจำนวนเชิงซ้อน 3+ 2i และ 1 - i
วิธีทำ (3+ 2i) + (1 - i) = (3+1) + (2 - 1) i
= 4 + i
(3+2i) (1 - i) = 3(1 - i)+2i(1 - i)
= 3 - 3i + 2i + 2i2
= (3+2) + ( - 3+2) i
= 5 - i
ตัวอย่างที่ 3 จงหาจำนวนจริง a , b ทีทำให้ (a+2i) + ( - 1+2bi) = 3 + 8i
วิธีทำ เนื่องจาก (a + 2i) + ( - 1 + 2bi) = (a - 1) + (2+ 2b)i
ฉะนั้น a - 1 = 3 และ 2 + 2b = 8
ดังนั้น a = 4 และ b = 3
ตัวอย่างที่ 4 จงหาผลคูณ 1+ i , 2+ i และ - 1 + 3i
วิธีทำ (1+ i)(2+i)( - 1+3i) = [(2 - 1) + (1 + 2 ) i ] ( - 1 +3i)
= (1 + 3i) ( - 1 + 3i)
= ( - 1 - 9)+(3 - 3) i
= - 10 + 0i
= - 10
ข้อสังเกต เมื่อกำหนด i0 = 1แล้ว จะได้ สำหรับ m I+ {0}
I4m = 1, i4m + 1 = I , i4m + 2 = -1, i4m + 3 = i
สมบัติที่เกี่ยวกับการบวกและการคูณของจำนวนเชิงซ้อน
ถ้า Z1 , Z2 , Z3 ,เป็นจำนวนเชิงซ้อน แล้วจะได้ว่า
1. Z1 + Z2 = Z2 + Z1 และ Z1Z2 = Z2Z1 (สมบัติการสลับที่)
2. Z1 + (Z2 + Z3) = (Z1+Z2) + Z3 และ Z1(Z2Z3) = (Z1Z2) Z3 (สมบัติการเปลี่ยนกลุ่ม)
3. Z1(Z2 + Z3) = Z1Z2 + Z1Z3 (สมบัติการแจกแจง)
.